วิทยานิพนธ์


รายละเอียด :

วิเคราะห์นาฏยลักษณ์ของตัวนางในการแสดงโขน โดยมุ่งเน้นบทบาทนางโขนที่เป็นตัวเอกของเรื่องและของตอน รวมทั้งวิเคราะห์บริบททางสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนาฏยลักษณ์ของตัวนางโขน โดยใช้แนวคิดเรื่องสตรีตามคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย และทฤษฎีนาฏยศาสตร์ของพระภรตมุนี มาเป็นหลักในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหานาฏยลักษณ์ของนางโขน ผลการวิจัยพบว่า นางโขน ได้อิทธิพลมาจากบทบาทของสตรีในรามายณะของอินเดีย แบ่งตามชาติกำเนิดได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ นางฟ้า นางมนุษย์ นางอมนุษย์ นางยักษ์ และนางลูกครึ่ง สามารถแบ่งนาฏยลักษณ์ของนางโขนออกได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มนางโขนที่รำแบบนางมนุษย์ กลุ่มนางโขนที่รำแบบ นางมนุษย์และนางยักษ์ และกลุ่มนางโขนที่รำแบบนางมนุษย์และสัตว์

  • ISBN : -
  • รูปแบบ : วิทยานิพนธ์ (ปริญญาเอก/ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) (สิ่งพิมพ์/สื่อออนไลน์)
  • ผู้ผลิต/ผู้พิมพ์ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปีที่เผยแพร่ (พ.ศ.) : 2558
  • สถานที่เก็บเอกสาร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ลิขสิทธิ์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ที่มา : http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49824




เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง